ผลงาน   เว็บบอร์ด

วิธีการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์

             ราคาเทียบกับประสิทธิภาพ

  คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีฟังก์ชั่นการทำงานและประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเห็นได้จากส่วนต่างราคาระหว่างคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐานและคอมพิวเตอร์ขั้นสูง ศึกษาความต้องการของ     คุณเพื่อให้ได้คอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อฮาร์ดแวร์ที่ไม่จำเป็นเพิ่มเติม เราสามารถช่วยคุณค้นหาพีซีที่เหมาะสำหรับคุณ ในขณะเดียวกันคอมพิวเตอร์ที่ลดราคา     มากเป็นพิเศษอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของคุณเช่นกัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์เหล่านี้มักเป็นรุ่นเก่าหรือใช้ส่วนประกอบราคาถูกหรือที่ล้าสมัย การจ่ายเงินมากกว่า     จึงอาจทำให้คุณได้พีซีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่ามาก การเปรียบเทียบราคา การตรวจสอบส่วนประกอบต่างๆ และพิจารณาความต้องการของตนเองจะทำให้คุณได้พีซีที่ลงตัวทั้งในด้านราคา     และประสิทธิภาพในการทำงาน

              ส่วนประกอบต่อพ่วงและซอฟต์แวร์

  คอมพิวเตอร์สำเร็จรูปส่วนใหญ่จำหน่ายพร้อมซอฟต์แวร์และแอพพลิเคชั่นสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส เมาส์และแป้นพิมพ์ ตรวจสอบกับร้านค้าก่อนจัด  ซื้อเพื่อให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์จำหน่ายพร้อมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงใดบ้าง จัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นและกำหนดงบประมาณให้ชัดเจนตามให้สอดคล้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น เครื่องพิมพ์หรือสาย     ต่อเสริมตามความเหมาะสม คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ไม่ได้จำหน่ายพร้อมกับแอพพลิเคชั่นสำนักงานติดตั้งสำเร็จ ซึ่งคุณควรคำนึงถึงข้อนี้ไว้ด้วย

              ส่วนประกอบของเครื่อง

  ส่วนประกอบต่างๆ จะต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ การติดตั้งโปรเซสเซอร์รุ่นล่าสุดที่เร็วที่สุดโดยติดตั้ง RAM ไม่เพียงพออาจทำให้โปรแกรมทำงานช้ากว่าที่ควร ตรวจสอบว่าส่วน           ประกอบต่าง ๆ สามารถรองรับการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เคสบางแบบอาจอัพเกรดได้ยาก ศึกษาให้แน่ใจก่อนว่ากำลังเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการจริงๆ และสามารถอัพเกรดได้ใน       อนาคตหรือไม่ 

               รองรับการทำงานในอนาคต

  การรองรับการทำงานในอนาคตในที่นี้หมายถึงการจัดซื้อหรือประกอบคอมพิวเตอร์ที่สามารถเรียกใช้แอพพลิเคชั่นขั้นสูงในอนาคต โดยปกติคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะมีราคาแพง ในระยะยาวขอ        แนะนำให้เลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพคุ้มราคามากที่สุด ในระยะยาวคอมพิวเตอร์กลุ่มนี้จะคุ้มค่ามากกว่าการอัพเกรดทุก 6 เดือนหรือการต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ 


                                                                                                                                                                                                                     ที่มา http://www.thailand.intel.com

 Diskless หรือ No Harddisk  

                       คืออะไร ก่อนอื่นผมอยากแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกับระบบนี้กันก่อน เพราะตอนนี้ผมคิดว่าระบบนี้กำลังเป็นที่นิยม (ขอขยายความว่าอย่างแรง) ด้วยครับ เพราะ Diskless เป็นระบบที่ทำให้ Admin หรือผู้ดูแลระบบสามารถบริหารจัดการเครื่อง Client ได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะสามารถลดปัญหาในเรื่องของไวรัสและการทำงานซ้ำบ่อยๆ ไปได้เกือบ 90% เลย นอกจากนี้ยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมาก ซึ่งผมจะแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักกันต่อไป ถ้าอยากรู้ก็ตามมาอ่านกันต่อให้จบได้เลยครับDiskless System คือระบบที่เครื่อง Client จะไม่มีฮาร์ดดิสก์ แต่อาศัยการบู๊ตเครื่องจากการ์ด LAN และไปดึงเอาไฟล์ Image ที่มีข้อมูลของระบบปฎิบัติการ เช่น Windows หรือ Linux รวมถึงไฟล์ Image ที่เป็นข้อมูลอื่นๆ จากเครื่อง Server มาใช้เป็นฮาร์ดดิสก์แทน   

                                                                                                                                                                 ที่มา http://www.ez-genius.com/

 ความแตกต่างระหว่าง Windows รุ่น 32 บิตและ 64 บิตคืออะไร

                  คำว่า 32 บิต และ 64 บิต หมายถึงวิธีการที่ตัวประมวลผล ของคอมพิวเตอร์ (มักเรียกว่าCPU) จัดการกับข้อมูล Windows รุ่น 32 บิตและ 64 บิตถูกออกแบบไว้สำหรับใช้งานในคอมพิวเตอร์ที่มีตัวประมวลผล 32 บิตหรือ 64 บิต ตามลำดับ Windows รุ่น 64 บิต สามารถใช้งานหน่วยความจำได้มากกว่า Windows. รุ่น 32 บิต ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการสลับเข้าและออกจากหน่วยความจำ ด้วยการเก็บกระบวนการดังกล่าวไว้ใน หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (RAM) ได้มากกว่าบนฮาร์ดดิสก์ จึงทำให้ประสิทธิภาพของโปรแกรมโดยรวมเพิ่มขึ้น 

                                                                                                                                                                                                               ที่มา http://www.microsoft.com

Make a Free Website with Yola.